วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีการนำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์
งานที่เสียเวลาและแรงงาน งานป้อนข้อมูลจึงจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วย
        ทางด้านอุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้า Input แบ่งได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งไม่รวมถึง input ด้วยระบบสื่อสารข้อมูล
        กลุ่มที่ 1   ได้แก่ กลุ่มที่ป้อนด้วยตัวอักษร นั่นนั่นคือ แป้นพิมพ์ หรือ keyboard ซึ่งจะอ่านตัวอักษรและตัวเลขจากแป้นพิมพ์ตามที่ผู้พิมพ์กด เข้าไปเก็บไว้ใน Computer การป้อนข้อมูลเข้าแบบตัวอักษรอีกแบบหนึ่ง คือประเภทบัตรเจาะรู เครื่องอ่านบัตรเจาะรูจะอ่านเป็นรหัส อักขระตามที่ผู้ใช้เจาะไว้    แต่ปัจจุบันบัตรเจาะรูไม่ได้ใช้กันแล้ว


 
กลุ่มที่ 2 ได้แก่ กลุ่มที่ป้อนข้อมูลด้วยอุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง การป้อนแบบนี้มีลักษณะเป็นการป้อนแบบ Graphic อุปกรณ์ที่เด่นชัดคือ Mouse ปากกาแสง Joystick Trackball
        กลุ่มที่ 3 เป็นการอ่านข้อมูลเป็นรูปภาพเข้ามาเก็บใน computer ได้แก่พวก Scanner , OCR หรือเครื่องอ่านตัวอักษรจากภาษาที่แสดง ได้ (ปัจจุบัน OCR ในภาษาอังกฤษได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ สำหรับภาษาไทย
ยังไม่ประสพผลสำเร็จ) เครื่องอ่านรหัสแถบ (Bar code)
        กลุ่มที่ 4 เป็นการป้อนข้อมูลด้วยเสียงได้แก่ระบบการจดจำเสียงพูด (Speech recognition) เป็นระบบทบทวนและตรวจสอบเสียงปัจจุบันยังไม่ได้ผลพอที่จะนำมาใช้งานอย่างจริงจัง   เนื่องจากเสียงของคนแต่ละคนต่างกัน
แม้แต่คนคนเดียวกันพูดสองครั้งยังไม่เหมือนกัน จึงยังนำมาใช้เป็นมาตรฐานไม่ได้
        กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มที่ป้อนข้อมูลด้วยตัวตรวจจับพิเศษ เช่น Switch, Sensor วัดด้าน อุณหภูมิ ความดัน แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณอนาลอกเป็น ดิจิตอล การป้อนข้อมูลแบบอัตโนมัตเป็นระบบ ที่ใช้ในการควบคุมเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ
แป้นพิมพ์  อุปกรณ์อินพุตขั้นพื้นฐาน
        การพิมพ์เป็นเทคโนโลยีที่เก่าแก่เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกของโลกมี หลักฐานยืนยันว่ามีผู้ประดิษฐ์มาแล้วเกือบ 300 ปี แต่เครื่องพิมพ์ดีดที่ได้รับการจดทะเบียนและบันทึกหลักฐานไว้โดย เ?นรี่ มีล เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2257 พัฒนาการของพิมพืดีดก็ก้าวหน้าขึ้นมาเป้นลำดับ ครั้นถึงยุคสมัยอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แป้นพิมพ์ดีดจึงได้รับการนำมาใช้เป้นอุปกรณ์ ป้อนตัวอักษรให้กับคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ยุคแรกๆโดยเริ่มจากการป้อนผ่านบัตรเจาะรูแล้วให้เครื่องอ่านบัตรเจาะรูอีกครั้งหนึ่ง การป้อนข้อมูลตัวอักขระในยุคแรกจึงเน้นการป้อนข้อมูลเข้าด้วยรหัส ทางบริษัทไอบีเอ็มได้กำหนดรหัสตามโซน
ของรูที่เจาะ ซึ่งเรียกว่ารหัสเอปซีดิกมาจนถึงปัจจุบัน
      ความเป็นมาในการหาวิธีป้อนข้อมูลด้วยวิธีอื่น
        การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยแป้นพิมพ์ตัวอักขระยังสร้างความยุ่งยากต่อผู้ใช้ในบางเรื่อง เช่น ต้องจดจำข้อความที่เป็นคำสั่ง การป้อนคำสั่งจะต้องใช้ตัวอักษรหลายตัวเรียงต่อเนื่องกัน ทำให้เสียเวลา ระยะหลังจึงมีคนคิดพยายามหา
วิธีการป้อนข้อมูลในรูปแบบอื่น โดยเฉพาะสัญลักษณ์ทางกราฟิก เนื่องจากสามารถสื่อความหมายกับผู้ใช้ได้ดีกว่าตัวอักษรเสียอีก ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ ในสมัยปัจจุบันจึงหันมาใช้ระบบ GUI-Graphic User Interface กันมาก และมีแนวทางที่จะแพร่หลายต่อไปอีกในโอกาสข้างหน้า
        จุดเริ่มต้นของความพยายามหาอุปกรณ์อินพุตมาช่วยงาน โดยเฉพาะในระบบของการติดต่อกับคอมพิวเตอร์มีมากกว่า 30 ปีแล้ว และมีการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังจากปีค.ศ. 1980 เป็นต้นมา มีการพัฒนาอุปกรณ์ช่วยอินพุตแบบต่างๆ ขึ้นมาใช้กันมาก
กระดาษสเก็ตช์เป็นจุดเริ่มต้น
        กระดาษสเก็ตช์ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์อินพุตที่ใช้กับกราฟิกรุ่นแรก จุดเริ่มต้นของกระดาษสเก็ตช์เริ่มจากนายอิเวน อี. ซูเธอร์แลนด์(Ivan E. Sutherland) ได้ออกแบบสร้างขึ้นในขณะที่เขาเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่เอ็มไอทีเมื่อ
ปีค.ศ. 1962 และเสนอวิทยานิพนธ์ด้วยการใช้กระดาษสเก็ตช์เป็นอุปกรณ์อินพุตสำหรับระบบกราฟิกเพื่อการเขียนรูป ระบบกราฟิกที่ใช้นี้ได้รับการพัฒนาบนเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ TX-2 ของเอ็มไอที ดังรูป

          ในระหว่างนั้นอุปกรณ์อินพุตที่ใช้กำหนดรูปภาพทางกราฟิกมีให้ใช้แล้วคือ ปากกาแสง แต่ปากกาแสงมีข้อจำกัดคือ ใช้กำหนดจุด การลากเส้น แต่กระดาษสเก็ตช์ยังให้รายละเอียดเพิ่มเติมได้อีก เช่น กำหนดขนาดของเส้น ความสัมพันธ์ของรูปกราฟิก ซูเธอร์แลนด์ได้พัฒนาระบบกราฟิกที่ใช้หลักการของวินโดว์มีการขยายหรือย่อภาพได้

ที่มา   http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/indatcon/indatcon.htm